อสังหาริมทรัพย์

พิษโควิดลากยาวทุบอสังหาฯร่วง ผู้บริโภคยืดเวลาซื้อ 3-5 ปี - กรุงเทพธุรกิจ

วันเสาร์ ที่ 25 มิถุนายน 2565 สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มลากยาว ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินว่าการฟื้นตัวทางธุรกิจและเศรษฐกิจ จะขยายเวลาออกไปอีกจากคาดหวังไว้ในปี 2565นางสุพินท์ มีชูชีพ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 ได้รับผลกระทบหนักต่อเนื่องจากปี 2563 จากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ซ้ำเติมวิกฤติ โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม ที่มีปัญหาโอเวอร์ซัพพลายทั้งกลุ่มไฮเอนด์และมิดเอนด์ และมาตรการคุมเข้มสินเชื่อ หรือ “แอลทีวี” ทำให้การซื้อเพื่อการลงทุนทำให้ยาก ขณะนี้ พบว่าผู้ประกอบการเตรียมเลื่อนเปิดตัวโครงการใหม่ออกไปอย่างไม่มีกำหนด“สถานการณ์ตลาดในปีนี้ของคอนโดมิเนียม ออฟฟิศ ศูนย์การค้า หรือโรงแรม ยังเผชิญปัญหาและความท้าทายอยู่มาก ไม่สามารถพลิกฟื้นได้อย่างรวดเร็ว จนกว่าจะมีการฉีดวัคซีนได้ 70% ในสิ้นปีนี้ หากไตรมาสแรกปีหน้าสามารถเปิดประเทศได้ จะใช้เวลาอีก 18-24 เดือนตลาดสังหาฯ จะฟื้นตัวกลับมา”ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ธุรกิจอสังหาฯ จะฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการซื้ออสังหาฯ เพื่อการลงทุน พร้อมทั้งประเมินว่าหากไตรมาสสุดท้ายสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย มีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาเยือนประเทศไทยจะเป็นกำลังซื้อที่สำคัญ แม้จะไม่กลับไปเหมือนปี 2562 ก่อนเกิดโควิดที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาถึง 40 ล้านคน โดยปีนี้ประเมินไว้ที่ 8 ล้านคน หรืออาจลดลงเหลือ 6 ล้านคนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิดที่รุนแรงหวังมาตรการรัฐกระตุ้นอสังหาฯนางสุพินท์ กล่าวต่อว่า บนสมมติฐานที่ว่า ปี2565 เศรษฐกิจไทยจะสามารถพลิกฟื้นได้อย่างช้าไตรมาสสองนั้น จะส่งผลต่อเนื่องตลาด

'ชาญอิสสระ' หนุนเปิดทาง ต่างชาติ - ฐานเศรษฐกิจ

ความคาดหวัง “เศรษฐกิจฟื้นตัว เปิดประเทศ” รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดิมถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะดำเนินการได้ในช่วงเดือน กรกฎาคม ปี 2564 อาจถูกสกัดดับฝันลงอย่างฉับพลัน เมื่อการระบาดของโควิดระลอก 3 ที่เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม จนถึงปัจจุบัน สถานการณ์ยังคงน่ากังวล และน่าวิตกกว่าครั้งไหนๆ จากความหลากหลายและความรุนแรงของเชื้อ โดยแม้ขณะนี้ อสังหาริมทรัพย์ไทยยังไม่สามารถประเมินผลกระทบ ที่มีต่อการเติบโตในตลาดได้ชัดเจน แต่นั่นได้ส่งผลต่อจังหวะ การขยับของผู้พัฒนาอสังหาฯ ในหมวดที่ผูกโยงกับการท่องเที่ยวไทยโดยตรง 1 ในนั้น คือ บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บิ๊กอสังหาฯ ในเมืองท่องเที่ยว ภูเก็ต หัวหิน ผ่านโครงการโรงแรม รีสอร์ท และคอนโดมิเนียมหรู เช่น ศรีพันวา ซึ่งไตรมาสแรกของปี ปรากฎรายได้รวม  539.8 ล้านบาท แม้จะเพิ่มขึ้นเกือบ 100% จากปีก่อนหน้า จากการโอนกรรมสิทธิ์โครงการที่อยู่อาศัย แต่พบรายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม ยังคงลดลงถึง 70 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม นายสงกรานต์ อิสสระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ระบุ พบโอกาสใหม่ในวิกฤต เชื่อมั่น “เรียลดีมานด์” เป็นตลาดสำคัญที่จะช่วยให้อยู่รอด เปิดน่านน้ำใหม่หลังวิกฤติ “บ้านเดี่ยวระดับซูเปอร์ลักชัวรี่” พ่วง “ธุรกิจเวลเนส” อย่างไรก็ตาม ตลาดต้องมีแรงหนุน ขอรัฐเร่งแก้กฎหมาย เปิดทางชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ ราคาแพง ดึงเม็ดเงินใหม่ มาฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศและระบายสต็อกของอสังหาริมทรัพย์ไทย ชูบ้านเดี่ยวซูเปอร์ลักชัวรี่สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

อสังหาใจชื้น สต๊อกลด -3.9% 36 บิ๊กแบรนด์กำไรท่วม เติบโต 30% - ประชาชาติธุรกิจ

อสังหาใจชื้น สต๊อกลด -3.9% 36 บิ๊กแบรนด์กำไรท่วม เติบโต 30%  ประชาชาติธุรกิจsource

อสังหาดัชนีเศรษฐกิจปีเสือ แก้โจทย์ธุรกิจรับบ้าน-คอนโดฟื้นตัว - ประชาชาติธุรกิจ

อสังหาดัชนีเศรษฐกิจปีเสือ แก้โจทย์ธุรกิจรับบ้าน-คอนโดฟื้นตัว  ประชาชาติธุรกิจsource

ทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปี 65 New Normal before COVID-19 ตอนที่ 1 - กรุงเทพธุรกิจ

วันเสาร์ ที่ 25 มิถุนายน 2565 อาทิ การผ่อนคลายเกณฑ์ LTV การแก้ไขกฎหมายให้ชาวต่างชาติซื้อบ้านพร้อมที่ดินได้ ตลอดจนการเข้ามาลงทุน/ทำงานในไทยของชาวต่างชาติ (Expatriates) อย่างไรก็ตาม คาดว่ายอดขายจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น โดยอยู่ที่ 7.4 หมื่นยูนิตในปี 2567 (เทียบกับค่าเฉลี่ย 9.9 หมื่นยูนิตช่วงปี 2557-2562) เนื่องจากตลาดระดับกลางลงมายังฟื้นตัวได้จำกัด และสถาบันการเงินยังมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อการเปิดตัวโครงการใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14-15% ต่อปี ตามแผนลงทุนของผู้ประกอบการ โดยสัดส่วนการเปิดขายโครงการใหม่ของบ้านแนวราบจะใกล้เคียงกับคอนโดมิเนียมเพื่อรองรับความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง อย่างไรก็ตาม คาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่จะอยู่ที่ 8 หมื่นยูนิตในปี 2567 ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 1 แสนยูนิตช่วงปี 2557-2562 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยรายใหญ่ยังประคับประคองธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้ ขณะที่รายกลาง-เล็ก จะเผชิญการแข่งขันรุนแรงทั้งด้านยอดขาย และราคาที่ดินซึ่งหายากขึ้นและมีราคาแพง1) บ้านแนวราบ (บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์): อุปสงค์มาจากผู้ซื้อหันมาให้ความสำคัญกับพื้นที่ใช้สอย/ ฟังก์ชั่นที่เอื้อต่อการทำงานที่บ้านมากขึ้น 2) คอนโดมิเนียม: คาดว่าจะปรับดีขึ้นในบางพื้นที่ โดยเฉพาะย่านใจกลางเมืองและแนวรถไฟฟ้าบางเส้นทาง ซึ่งคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ถูกพัฒนาโดยผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพทั้งด้านการบริหารโครงการ การตลาดและแหล่งเงินทุนหมุนเวียน3) สำหรับทิศทางในระยะต่อไป คาดว่าผู้ประกอบการมีแนวโน้มพัฒนาโครงการเพื่อตอบสนองลูกค้าในรูปแบบหลากหลายมากขึ้น อาทิ การพัฒนาโครงการรูปแบบผสมผสาน (Mixed-use) การพัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับกระแสรักสุขภาพ/ คุณภาพชีวิตที่ดี (Wellness residence) และการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aged society) การพัฒนาบ้านอัจฉริยะ (Smart home) โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการขายที่อยู่อาศัยแบบสิทธิการเช่าระยะยาว (Leasehold)ปัจจัยที่ต้องติดตามในระยะต่อไป ได้แก่ (1) พฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยอาจเปลี่ยนไปหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เช่น การทำงานที่บ้านอาจทำให้มีความต้องการบ้านแนวราบนอกเมืองที่มีพื้นที่ และ