เศรษฐกิจ

ธปท.ส่งสัญญาณ 'ขึ้น' อัตราดอกเบี้ยนโยบาย - กรุงเทพธุรกิจ

วันเสาร์ ที่ 25 มิถุนายน 2565 นายปรเมธี วิมลศิริ ประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าว ปาฐกถาพิเศษหัวข้อสภาวะแวดล้อมใหม่ทางเศรษฐกิจและการเงิน ในงานสัมมนา New Chapter เศรษฐกิจไทย จัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ว่า เศรษฐกิจไทยยังอยู่บนพื้นฐานความไม่แน่นอน ทั้งจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยืดเยื้อ รวมถึง การปรับรูปแบบนโยบายการเงินของสหรัฐอเมริกา โดยประเทศที่ยังไม่เข้มแข็งจะต้องดูความสมดุลในการดูแลเศรษฐกิจกับเงินเฟ้อ เขาระบุว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายคงจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะเห็นความเหมาะสมเมื่อไร ซึ่งสภาพัฒน์ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการประเมินว่า ในปีนี้นักท่องเที่ยวจะเข้ามา 5-6 ล้านคน ก็เป็นปัจจัยที่ต้องติดตามว่าจะได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ฉะนั้น เศรษฐกิจจึงเป็นการฟื้นตัวไม่แน่นอน และเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ ส่วนเงินเฟ้อก็ขยายตัวสูงกว่าที่คาดเขากล่าวด้วยว่า เศรษฐกิจไทยหลังโควิดนั้น จะเผชิญความท้าทาย 5 เรื่อง ได้แก่ 1.ความสามารถในการใช้เครื่องมือทางการคลังที่เหลือน้อย เพราะหนี้สาธารณะเพิ่มจาก 40% เป็น 58% ในปัจจุบัน และมีการจัดงบขาดดุล ซึ่งหนี้อาจจะเพิ่มขึ้น เป็น 67% ในปี 2569 ฉะนั้น เมื่อฟื้นวิกฤติควรปรับกรอบเพดานหนี้สาธารณะให้กลับสู่ระดับไม่เกิน 60% ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่ในการใช้นโยบายการคลังในอนาคต หากเจอวิกฤติเศรษฐกิจไม่คาดคิดอีก ดังนั้น โจทย์สำคัญคือ การหารายได้เพิ่ม และการบริหารงบประมาณที่มีอย่างจำกัดจะเป็นโจทย์รัฐบาลชุดต่อไป รวมถึง นโยบายการเงินด้วย เมื่อดอกเบี้ยนโยบายลดถึง 0.5% แล้ว ระยะต่อไปก็คงต้องมีการปรับขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม 2.ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ขณะนี้ ความคิดเห็นต่างในสังคมที่เพิ่มสูงขึ้น

ชมคลิป: แนวโน้มเศรษฐกิจโลก-ไทย ครึ่งปีหลัง เงินเฟ้อสหรัฐฯ ผ่านจุดพีคหรือยัง? – THE STANDARD - thestandard.co

 ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 น. ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/ source

“ไอเอ็มเอฟ” เตือน ศก.โลกส่อวุ่นวาย 30 ชาติ “จำกัดส่งออกอาหาร” - ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางคริสตาลินา จอร์จีวา ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ เตือนว่า สถานการณ์การเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ กำลังเข้าสู่ความยุ่งเหยิงอย่างยิ่ง โดยมีผลพวงมาจากทั้งการระบาดของโควิด-19 ตลอดจนความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ส่วนตลาดการเงินมีความเปราะบางอย่างยิ่ง รวมไปถึงปัญหาจากระบบห่วงโซ่อุปทาน ถือเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ของโลกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2เนื่องจาก ขณะนี้มี 30 ประเทศทั่วโลกแล้ว ที่ใช้มาตรการจำกัดการส่งออกอาหาร พลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ นับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายมากขึ้น  สร้างความเสี่ยงทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะที่ยุ่งเหยิงอย่างที่สุด ไม่ว่าจะเป็น อาร์เจนตินา สั่งระงับการส่งออก น้ำมันถั่วเหลือง,อาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2566แอลจีเรีย ระงับการส่งออกพาสต้า ข้าวสาลี น้ำมันพืช น้ำตาล จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565, อียิปต์ ระงับการส่งออกน้ำมันพืชข้าวโพด ถึงวันที่ 12 มิ.ย 2565, อินเดีย ระงับการส่งออกข้าวสาลี ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565อินโดนีเซีย ระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม,น้ำมันเมล็ดปาล์ม ถึง 31 ธ.ค. 2565 แต่ต่อมาวันที่  23 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ยกเลิกคำสั่งห้าม หลังจากสถานการณ์น้ำมันปาล์มในประเทศดีขึ้นมาเลเซีย ประกาศระงับการส่งออกไก่เดือนละ 3.6 ล้านตัว ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.เป็นต้นไป

MONEY AND STOCK MARKET วันที่ 23-27 พฤษภาคม 2565 - กรุงเทพธุรกิจ

วันเสาร์ ที่ 25 มิถุนายน 2565 •    หุ้นไทยฟื้นตัวกลับมาได้ช่วงปลายสัปดาห์ ตามแรงซื้อของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ หลังตลาดคลายกังวลบางส่วนต่อทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ   สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ 34.09 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทมีแรงหนุนจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับแรงหนุนของเงินดอลลาร์ฯ เริ่มชะลอลง หลังจากตลาดปรับตัวรับการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟดไปมากแล้ว ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ดัชนี PMI เดือนพ.ค. ยอดขายบ้านใหม่เดือนเม.ย. และจีดีพีไตรมาส 1/65 (ครั้งที่ 2) ออกมาอ่อนแอกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นช่วงสั้นๆ กลางสัปดาห์ หลังรายงานการประชุมเฟดสะท้อนโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยรอบละ 50 bps. ในการประชุมมิ.ย. และก.ค.นี้ แต่กรอบขาขึ้นของเงินดอลลาร์ฯ ยังจำกัดเนื่องจากตลาดกลับมาสนใจสัญญาณคุมเข้มของธนาคารกลางชั้นนำอื่นๆ อาทิ ECB ที่มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้  ในวันศุกร์ (27 พ.ค.) เงินบาทปิดตลาดที่ 34.16 (หลังจากแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ 34.09 ในช่วงระหว่างสัปดาห์) เทียบกับระดับ 34.26 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (20 พ.ค.) ขณะที่ระหว่างวันที่ 23-27 พ.ค. นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 6,870.3 ล้านบาท ขณะที่มีสถานะเป็น NET INFLOW เข้าตลาดพันธบัตร

กกร.ขานรับเปิดประเทศ มั่นใจเศรษฐกิจโต สร้างความเชื่อมั่นนักธุรกิจ กลับมา - ประชาชาติธุรกิจ

กกร.ขานรับเปิดประเทศ มั่นใจเศรษฐกิจโต สร้างความเชื่อมั่นนักธุรกิจ กลับมา  ประชาชาติธุรกิจsource

กลยุทธ์การลงทุน เตรียมตัวสำหรับภาวะตลาดที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ - กรุงเทพธุรกิจ

วันเสาร์ ที่ 25 มิถุนายน 2565 ซึ่งเรามองว่าเป็นเพราะเหตุผลสองประการ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อกำลังถึงจุดสูงสุด และเศรษฐกิจของกลุ่ม DM ที่กำลังจะชะลอตัวลง เราคิดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทยที่ปรับลดลงมาเป็นบวกต่อแบบจำลอง earnings yield gap (EYG) และการประเมินมูลค่าหุ้น ทั้งนี้ เมื่ออิงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีในขณะนี้ที่ 3.00%, EYG เฉลี่ยระยะยาวที่ 4.1% และ EPS ปี 2566 ที่ 112 เราประเมินว่า downside ของดัชนี SET จะอยู่ที่ 1,580 จุด ซึ่งต่ำกว่าระดับปัจจุบันเพียง 3.4% อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ASEAN และไทยอาจจะเป็น sweet spots สำหรับปี 2566ตามประมาณการล่าสุดของ IMF ในรายงาน WEO ฉบับเดือนเมษายน เศรษฐกิจของกลุ่ม EM และ ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียมีแนวโน้มจะเร่งตัวขึ้นในปี 2566 เมื่อเทียบกับปีนี้ จากการกลับมาเปิดประเทศและออกจากวิกฤติ COVID-19 ถึงแม้ว่า GDP ของไทยจะมีแนวโน้มจะขยายตัวในระดับปานกลางเนื่องจากอยู่ในจุดที่แตกต่างของวัฏจักรการพัฒนา แต่อัตราเงินเฟ้อ (CPI) และอัตราการว่างงานของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจในภูมิภาค ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัด (CA) มีแนวโน้มจะพลิกจาก -0.1% ต่อ GDP