กองทุน

'เงินบาท' วันนี้เปิด'อ่อนค่า' ที่ 33.44 บาทต่อดอลลาร์ - กรุงเทพธุรกิจ

วันพุธ ที่ 22 มิถุนายน 2565 นายพูน พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้(15มี.ค.)ที่ระดับ  33.44 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.38 บาทต่อดอลลาร์  มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.35-33.50 บาทต่อดอลลาร์สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท มองว่า แม้ว่าเงินบาทมีโอกาสจะอ่อนค่าลงได้บ้าง แต่การอ่อนค่าของเงินบาทอาจเริ่มชะลอลงได้ และเงินบาทจะเริ่มแกว่งตัว sideways หลังผู้เล่นในตลาดยังคงมีความหวังต่อการเจรจาเพื่อยุติสงคราม ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้เล่นในตลาดไม่ได้เร่งเทขายสินทรัพย์เสี่ยงรุนแรง แม้การเจรจาล่าสุดจะยังไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม นอกจากนี้ ควรจับตาแรงซื้อสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเรามองว่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกันต่อทิศทางของเงินบาท โดยนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยบ้าง แต่ยังคงเห็นแรงขายบอนด์ระยะสั้นอยู่แต่แรงขายบอนด์ระยะสั้นก็อาจเริ่มลดลง หลังจากที่นักลงทุนต่างชาติได้ปิดสถานะเก็งกำไรเงินบาทไปมากแล้ว ดังนั้น หากสถานการณ์สงครามไม่ได้เลวร้ายหรือทวีความรุนแรงมากขึ้น เราประเมิน นักลงทุนต่างชาติก็พร้อมจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยอีกครั้งได้ เรามองว่า แนวต้านของเงินบาทจะอยู่ใกล้โซน 33.50 บาทต่อดอลลาร์ (แนวต้านถัดไปจะอยู่ที่ 33.75) ซึ่งเริ่มเห็นบรรดาผู้ส่งออกมารอขายเงินดอลลาร์ในช่วงดังกล่าว ส่วนแนวรับสำคัญ จะอยู่ในช่วง 33.00-33.20 บาทต่อดอลลาร์ โดยฝั่งผู้นำเข้า รวมถึงผู้เล่นที่เป็นบริษัทต่างชาติ ต่างก็รอจังหวะ buy on dip อยู่ในโซนดังกล่าวพอสมควร อย่างไรก็ดี สภาวะสงครามที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูงอาจกดดันให้ตลาดพลิกกลับไปปิดรับความเสี่ยงและผันผวนหนักได้ทุกเมื่อ ซึ่งเรามองว่า ภาพดังกล่าวจะทำให้เงินบาทอาจผันผวนในกรอบที่กว้างกว่าช่วงปกติได้ ทำให้การปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนควรจะต้องมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ การใช้ Option   ผู้เล่นในตลาดโดยรวมยังคงอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวและยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก หลังจากที่การเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซีย-ยูเครนล่าสุดยังไม่ได้ข้อสรุป ทว่าผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า การเจรจาสันติภาพจะยังคงดำเนินต่อไปและอาจช่วยยุติสงครามได้ในที่สุดนอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะเริ่มกลับมาให้ความสนใจแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดมากขึ้นและผู้เล่นบางส่วนยังคงกังวลโอกาสที่เฟดอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อดังจะเห็นได้จากแรงเทขายหุ้นเทคฯ ที่กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 2.13%

'เงินบาท' วันนี้เปิด'แข็งค่า' ที่ 33.26 บาทต่อดอลลาร์ - กรุงเทพธุรกิจ

วันพุธ ที่ 22 มิถุนายน 2565 นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้(13 ม.ค.65) ที่ระดับ  33.26 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.37 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.20-33.40 บาทต่อดอลลาร์สำหรับ แนวโน้มค่าเงินบาท เราคงมองว่า แม้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้น แต่จะไม่แข็งค่าไปมากนัก เพราะถึงแม้ว่า เงินบาทจะได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่าจากการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์และโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ แต่แรงกดดันฝั่งอ่อนค่ายังคงเป็นปัญหาการระบาดของโอมิครอนในประเทศที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ การแข็งค่าขึ้นจนหลุดระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์นั้น ต้องอาศัยฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติพอสมควร   อีกทั้ง ช่วง 2 วันที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นว่า โฟลว์ซื้อสุทธิบอนด์ระยะสั้นจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มลดลง ซึ่งอาจสะท้อนมุมมองของนักลงทุนต่างชาติที่ยังไม่รีบเข้ามาเก็งกำไรการแข็งค่าของเงินบาท และผู้เล่นต่างชาติบางส่วนอาจรอจังหวะเงินบาทอ่อนค่า เพื่อเพิ่มสถานะการถือครอง ขณะที่หากเงินบาทแข็งค่าถึงระดับเป้าราคาที่ต้องการ ก็อาจเห็นการทยอยขายทำกำไรของผู้เล่นต่างชาติได้ นอกจากนี้ หากเงินบาทแข็งค่าใกล้ระดับ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์ ก็อาจมีแรงซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าช่วยพยุงเงินบาทไม่ให้แข็งค่าไปมากได้  ผู้เล่นในตลาดการเงินเดินหน้าทยอยเปิดรับความเสี่ยงต่อ หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 7.0% ตามคาด และยิ่งหนุนให้เฟดสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ตั้งแต่การประชุมในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ไปแล้วพอสมควร ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดจึงไม่ได้กังวลต่อแนวโน้มการเร่งตัวขึ้นของเงินเฟ้อแต่อย่างใด นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของว่าที่รองประธานเฟด Lael Brainard และเจ้าหน้าที่เฟดท่านอื่นๆ ยังคงออกมาสอดคล้องกับประธานเฟดที่ได้ระบุก่อนหน้าว่า เฟดพร้อมจะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อ การทยอยเปิดรับความเสี่ยงของผู้เล่นในตลาดจะเห็นได้ชัดจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคฯและหุ้นสไตล์ Growth ที่ย่อตัวลงหนักในช่วงที่ผ่านมา หนุนให้ในฝั่งสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.28% ส่วนดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq สามารถปรับตัวขึ้นราว